วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พันธุกรรม (Heredity)




สิ่งที่เป็นลักษณะต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าโดยสามารถถ่ายทอดส่งต่อจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้ หรือ พันธุกรรม(Heredity) คือ เป็นการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง(รุ่นลูกรุ่นหลาน)ได้ เช่น คนรุ่นพ่อแม่สามารถถ่ายทอดลักษณะต่างๆลงไปยังสู่รุ่นลูกรุ่นหลานของตนได้ โดยลักษณะที่ถูกถ่ายทอดแบ่งเป็นประเภทหลักๆได้ ลักษณะ คือ ลักษณะเชิงคุณภาพ และ ลักษณะเชิงปริมาณ โดยได้มีการเริ่มต้นทำการศึกษาเรื่องของพันธุกรรม(Heredity)ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 18 โดย เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendelซึ่งเป็นผู้ที่ได้ค้นพบและได้อธิบายหลักของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม(Heredity)



พันธุกรรม(Heredity)อาจสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า กรรมพันธุ์พันธุกรรม(Heredity) เป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีลักษณะต่างๆที่แตกต่างกันไปมากมาย โดยมีหน่วยควบคุมที่คอยควบคุมลักษณะต่างๆเหล่านี้ ที่เรียกว่า ยีน(Gene) โดยยีน(Gene)นี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมากภายในเซลล์แทบทุกเซลล์ ซึ่งยีน(Gene) แต่ละยีน(Gene)ก็จะมีหน้าที่คอยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม(Heredity)ลักษณะหนึ่งๆไป โดยจะมีทั้งยีน(Gene)ที่ควบคุมลักษณะเด่น และยีน(Gene)ที่ควบคุมลักษณะด้อย แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ลักษณะเราแตกต่างออกไปนอกเหนือพันธุกรรม(Heredity) คือสิ่งแวดล้อม หรือ สภาพแวดล้อม เช่น ความอ้วน อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม(Heredity)

หน่วยพันธุกรรม

โครโมโซม



             หน่วยพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตคือ เซลล์ ภายในประกอบด้วยไซโทพลาสซึม และนิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์ ภายในนิวเคลียสจะมีโครโมโซม ซึ่งมีลักษณะ เป็นเส้นใยบาง ๆ พันกันอยู่




            การแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส  เป็นการแบ่งนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย  โดยการแบ่งเซลล์เดิมออกเป็น เซลล์ใหม่่โดยที่นิวเคลียสของทั้ง  2 เซลล์จะเท่ากับเซลล์เดิมด้วยเช่นกัน  มีแต่ละโครโมโซมจะมียีนที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด จะมีจำนวนโครโมโซมแตกต่างกันออกไป 
โครโมโซมของร่างกายคนเรามีอยู่ 46 โครโมโซม  เมื่อนำมาจัดเป็นคู่ได้ 23 คู่  มีโครโมโซมอยู่  22 คู่  ที่เหมือนกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย  เรียกโครโมโซมทั้ง  22  คู่นี้ว่า  โครโมโซมร่างกาย (autosome)  ส่วนคู่ที่  23  จะต่างกันในเพศหญิง และเพศชายคือ  ในเพศหญิงโครโมโซมคู่นี้จะเหมือนกัน  เรียกว่า  โครโมโซม  XX ส่วนในเพศชายโครโมโซมหนึ่งแท่งของคู่ที่  23  จะเหมือนโครโมโซม X  ในเพศหญิง  ส่วนอีกโครโมโซมมีลักษณะแตกต่างกันออกไป  เรียกว่า  โครโมโซม Y  ส่วนโครโมโซมคู่ที่  23  ในเพศชาย  เรียกว่า  โครโมโซม  XY  ดังนั้นโครโมโซมคู่ที่ 23  ทั้งในเพศหญิงและในเพศชาย  จึงเป็นคู่โครโมโซมที่กำหนดเพศใน มนุษย์จึงเรียกว่า  โครโมโซมเพศ (sex chromosome)

การแบ่งเซลล์ในสิ่งมีชีวิตมี แบบ คือ

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส

                  เป็นการแบ่งนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย  โดยการแบ่งเซลล์เดิมออกเป็น 2 เซลล์ใหม่  โดยที่นิวเคลียสของทั้ง  2 เซลล์จะเท่ากับเซลล์เดิมด้วยเช่นกัน  มีวิธีแบ่งเป็นระยะต่างๆ ดังภาพ

- ระยะอินเตอร์เฟส โครโมโซมมีลักษณะคล้ายเส้นใย เรียกว่า เส้นใยโครมาติน  (a)
- ระยะโปรเฟส  โครโมโซมหดสั้นเข้า  จึงมองเห็นเป็นเส้นโครโมโซมสั้นลง  และมีการสร้างเส้นใยสปินเดิล   (b – c)
- ระยะเมทาเฟส  โครโมโซมเรียงตัวกันกลางเซลล์ (d)
- ระยะแอนาเฟส  โครมาติดของแต่ละโครโมโซมถูกดึงแยกจากกัน  โดยเส้นใยสปินเดิล (e)
- ระยะเทโลเฟส  เกิดการแบ่งไซโทพลาสซึมโดยเยื่อหุ้มเซลล์คอดเข้าหากัน  จนกระทั่งเซลล์แยกออกจากกัน (f)

การแบ่งแบบไมโอซีส
             เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์  กล่าวคือเป็นการแบ่งนิวเคลียสของเซลล์ไข่ (egg)  และเซลล์อสุจิ (sperm)  การแบ่งเซลล์ดังกล่าวนี้นิวเคลียสมีการเปลี่ยนแปลง  2 ขั้นตอน  คือ
ไมโอซีส I  เซลล์เดิมแบ่งออกเป็นเซลล์ใหม่  โดยนิวเคลียสของเซลล์ใหม่จะมีจำนวนโครโมโซมครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม
ไมโอซีส II  เป็นการแบ่งเซลล์เหมือนกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส  หลังจากมีการแบ่งเซลล์ในขั้นนี้แล้วจะได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์  และมีจำนวนเซลล์เพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม  ซึ่งมีวิธีแบ่งเซลล์ดังภาพ



บิดาพันธุกรรม



             เกรเกอร์ โยฮันน์ เมนเดล เกิดวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ.1822 เป็นบาทหลวงชาวออสเตรีย และในขณะเดียวกันเขาก็เป็นอาจารย์สอนหนังสือให้แก่นักเรียน สอนนักเรียน ถึงเรื่องพันธุ์กรรมด้วย เมนเดลมีความสนใจศึกษาด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ ด้านพันธุศาสตร์ เขาได้ใช้สถานที่ภายในบริเวณวัดเพื่อทำการทดลองสิ่งต่างๆ ที่เขาสนใจ เมนเดลเริ่มต้นทดลองเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1856 เรื่องที่เขาทำการทดลองคือ การรวบรวมต้นถั่วหลายๆพันธุ์นำมาผสมกันหลายๆวิธีเขาใช้เวลาทดลองต่อเนื่องถึง 7 ปี จนได้ข้อมูลมากเพียงพอ ในปี ค.ศ.1865 เมนเดล จึงได้ รายงานผลการทดลอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์ ต้นถั่ว ให้แก่ที่ประชุม Natural History Society ในกรุงบรุนน์ ( Brunn ) ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ออกไปทั่วทวีปยุโรปและ อเมริกาในปีต่อมาคือปี ค.ศ.1866 ผลงานของเขาถูกปล่อยไว้นานถึง 34 ปี จนกระทั่งปี ค.ศ.1900 ได้มีนัก ชีววิทยา 3 ท่าน คือ ฮูโก เดอฟรีส์ ชาวฮอลันดา คาร์ล คอร์เรนส์ ชาวเยอรมันและ เอริช ฟอน แชร์มาค ชาวออสเตรเลีย ได้ทดลองผสมพันธุ์พืชชนิดอื่นๆ และได้ผลการทดลองตรงกับที่เมนเดลเคยรายงานไว้ ทำให้เมนเดลเป็นที่รู้จัก ในวงการพันธุศาสตร์นับแต่นั้นเป็นต้นมา

สิ่งมีชีวิตที่ควรเลือกมาศึกษา

1. ปลูกง่าย อายุสั้น ผลดก
2. มีการแปรผันมาก มีความแตกต่างของลักษณะที่ต้องศึกษาชัดเจนและสามารถหาพันธุ์แท้ได้ง่าย
3. มี RECOMBINATION คือการรวมกันของลักษณะของพ่อและแม่เมื่อมีการผสมพันธุ์
4. ความคุมการผสมพันธุ์ได้สามารถกำหนดให้มีลักษณะต่างๆเข้าผสมกันได้ตามต้องการ

การทดลองของเมนเดล

           เมนเดลประสบผลสำเร็จในการทดลอง จนตั้งเป็นกฎเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่มายังลูกหลานในช่วงต่อๆมาได้เนื่องจากสาเหตุสำคัญสองประการคือ

1. เมนเดล รู้จักเลือกชนิดของพืชมาทำการทดลอง พืชที่เมนเดลใช้ในการทดลองคือถั่วลันเตา (Pisum sativum) ซึ่งมีข้อดีในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์หลายประการ เช่น 
  1.1 เป็นพืชที่ผสมตัวเอง (self- fertilized) ซึ่งสามารถสร้างพันธุ์แท้ได้ง่าย หรือจะทำการผสมข้ามพันธุ์ (cross-fertilized) เพื่อสร้างลูกผสมก็ทำได้ง่ายโดยวิธีผสมโดยใช้มือช่วย (hand pollination)
  1.2 เป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องทำนุบำรุงรักษามากนัก ใช้เวลาปลูกตั้งแต่ปลูก จนถึงเก็บเกี่ยวภายในหนึ่งฤดูปลูก (growing season) หรือประมาณ 3 เดือน เท่านั้น และยังให้เมล็ดในปริมาณที่มากด้วย
   1.3 เป็นพืชที่ มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่แตกต่างกันชัดเจนหลายลักษณะ ซึ่งในการทดลองดังกล่าว เมนเดลได้นำมาใช้ 7 ลักษณะด้วยกัน

2. เมนเดลรู้จักวางแผนการทดลอง
   2.1 เลือกศึกษาการถ่ายทอดลักษณะของถั่วลันเตาแต่ละลักษณะก่อน เมื่อเข้าใจหลักการถ่ายทอดลักษณะนั้น ๆ แล้ว เขาจึงได้ศึกษาการถ่ายทอดสองลักษณะไปพร้อม ๆ กัน
   2.2 ในการผสมพันธุ์จะใช้พ่อแม่ พันธุ์แท้ (pure line) ในลักษณะที่ตรงกันข้ามกัน มาทำการผสมข้ามพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมโดยใช้มือช่วย (hand pollination )
   2.3 ลูกผสมจากข้อ 2.2 เรียกว่าลูกผสมช่วงที่ 1 หรือ F1( first filial generation) นำลูกผสมที่ได้มาปลูกดูลักษณะที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ
   2.4 ปล่อยให้ลูกผสมช่วงที่ 1 ผสมกันเอง ลูกที่ได้เรียกว่า ลูกผสมช่วงที่ 2 หรือ F2( second filial generation) นำลูกช่วงที่ 2 มาปลูกดูลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ

ลักษณะต่าง ๆ ของถั่วลันเตาที่เมนเดล ใช้ในการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม

1.ลักษณะของเมล็ด - เมล็ดกลม และ เมล็ดย่น (round & wrinkled)
2. สีของเปลือกหุ้มเมล็ด - สีเหลือง และ สีเขียว (yellow & green)
3. สีของดอก - สีม่วงและ สีขาว (purple & white)
4. ลักษณะของฝัก - ฝักอวบ และ ฝักแฟบ (full & constricted)
5. ลักษณะสีของฝัก - สีเขียว และ สีเหลือง (green & yellow )
6. ลักษณะตำแหน่งของดอก-ดอกติดอยู่ที่กิ่ง และเป็นกระจุกที่ปลายยอด (axial & terminal)
7. ลักษณะความสูงของต้น - ต้นสูง และ ต้นเตี้ย (long & short)


ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ของเมนเดล
1. การถ่ายทอดลักษณะหนึ่งลักษณะใดของสิ่งมีชีวิตถูกควบคุมโดยปัจจัย (fector) เป็นคู่ๆ ต่อมาปัจจัยเหล่านั้นถูกเรียกว่า ยีน (gene)
2. ยีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆจะอยู่กันเป็นคู่ๆ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้
3. ลักษณะแต่ละลักษณะจะมียีนควบคุม 1 คู่ โดยมียีนหนึ่งมาจากพ่อและอีกยีนมาจากแม่
4. เมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์(gamete) ยีนที่อยู่เป็นคู่ๆจะแยกออกจากกันไปอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์ของแต่ละเซลล์และยีนเหล่านั้นจะเข้าคู่กันได้ใหม่อีกในไซโกต
5. ลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่น F1  ไม่ได้สูญหายไปไหนเพียงแต่ไม่สามารถแสดงออกมาได้
6. ลักษณะที่ปรากฏออกมาในรุ่น F1   มีเพียงลักษณะเดียวเรียกว่า ลักษณะเด่น ( dominant) ส่วนลักษณะที่ปรากฏในรุ่น F2  และมีโอกาสปรากฏในรุ่นต่อไปได้น้อยกว่า เรียกว่า ลักษณะด้อย (recessive)
7. ในรุ่น F2 จะได้ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยปรากฏออกมาเป็นอัตราส่วน เด่น : ด้อย = 3 : 1

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

กฎของเมนเดล


การค้นพบของเมนเดล
          เมื่อปี พ.ศ. 2408  เกรเกอร์  โยฮัน  เมนเดล  (Gregor  Johan  Mendel)  บาทหลวงชาวออสเตรีย  ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพันธุศาสตร์  ได้อธิบาย ลักษณะบางอย่างของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏในรุ่นลูก  อันเป็นผลมาจากการถ่ายทอด ลักษณะดังกล่าวจากพ่อแม่  ผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์
เมนเดลทำการทดลองศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม  โดยการผสมพันธุ์
ถั่วลันเตาที่มีประวัติว่าต้นสูงทุกรุ่นกับต้นเตี้ยเคระ  ผลปรากฏว่ารุ่นลูกหรือรุ่น  F1  (first filial generation)  จะเป็นต้นสูงทั้งหมดและเมื่อเมนเดลนำเอา เมล็ดที่เกิด จากการผสมพันธุ์ภายในดอกเดียวกันของรุ่น F1  ไปเพาะเมล็ด  ซึ่งเป็นรุ่นหลาน หรือรุ่น F2  (second filial generation)  เจริญเติบโตเป็นต้นสูงมากกว่า ต้นเตี้ยแคระในอัตราส่วน  3 : 1 เมนเดลได้อธิบายผลการทดลองที่เกิดขึ้นว่า  ลักษณะต้นสูงที่ปรากฏนทุกรุ่น เรียกว่า  ลักษณะเด่น (dominant)  ส่วนลักษณะต้นเตี้ยแคระที่มีโอกาสปรากฏในบางรุ่น  เรียกว่า ลักษณะด้อย (recessive)

กฏของเมนเดล กล่าวไว้ 2 ข้อ คือ

1. กฏแห่งการแยกตัว




          มีใจความว่า  “ ยีนแต่ละคู่ที่ควบคุมแต่ละลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต  จะแยกตัวจากกันเป็นอิสระไปสู่เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์

2.กฏแห่งการรวมกลุ่มกันอย่างอิสระ
           มีใจความว่า  “ ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์  จะมีการรวมกลุ่มของ หน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม (ยีนเดียวของทุกยีน) ซึ่งการรวม กลุ่มนี้เกิดขึ้นอย่างอิสระ




สรุปการเข้าชุดกันอย่างอิสระของยีน

ในขบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ยีนแต่ละคู่จะแยกตัวออกจากกัน และกลับเข้ารวมตัวกันใหม่กับยีนอีกคู่หนึ่งอย่างอิสระ ทำให้ได้ลูกผสมในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 : 1

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

            จากการทดลองการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดลกล่าวว่า  “เมื่อ มีอัลลีลที่แตกต่างกัน 2 อัลลีล  อัลลีลหนึ่งจะแสดงออกมาได้ดีกว่า อีกอัลลีลหนึ่ง  อัลลีลที่แสดงออกมาได้ดีกว่า  เรียกว่า  อัลลีลเด่น (dominant  allele) จะบดบังอัลลีลที่แสดงออกมาไม่ดีเท่า เรียกว่า อัลลีลด้อย (recessive allele)"  หรือกล่าวได้ว่า  ลักษณะต่างๆ ทางพันธุกรรมที่เกิด จากการจับคู่ของยีน จากพ่อและแม่  และถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกหลาน  จะมีการแสดงออกได้ 2 ลักษณะดังนี้
ลักษณะเด่น (dominant)  หมายถึง  ลักษณะที่ปรากฏออกมาในทุก ๆ รุ่นอย่างเด่นชัด  ซึ่งเกิดจากการจับคู่ของอัลลีลที่ควบคุมลักษณะเด่น เหมือนกันจับคู่กันหรืออาจเกิดจากการที่อัลลีลด้อยถูกข่มด้วยอัลลีลเด่นที่จับคู่กัน


ลักษณะด้อย (recessive)  หมายถึง ลักษณะที่แอบแฝงไม่แสดงออกมาให้เห็น เมื่ออยู่คู่กับลักษณะเด่น  แต่จะแสดงออกเมื่อมีการเข้าคู่กับลักษณะด้อย เหมือนกัน  ซึ่งโอกาสที่จะแสดงออกให้เห็นจะมีน้อยกว่าการแสดงออก ของลักษณะเด่น

  


การถ่ายทอดลักษณะเด่นอย่างสมบูรณ์ (complete dominant)

        ยีนเด่นสามารถข่มยีนด้อยได้อย่างสมบูรณ์


การถ่ายทอดลักษณะเด่นที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete dominant)

              การถ่ายทอดลักษณะโดยยีนเด่นข่มยีนด้อยได้ไม่สมบูรณ์ เช่น  การถ่ายทอดสีของดอกลิ้นมังกร สีของดอกลิ้นมังกรควบคุมด้วยอัลลีลคู่หนึ่ง เมื่อผสมดอกลิ้นมังกรพันธุ์แท้ดอกสีแดงกับพันธุ์แท้ดอกสีขาวจะได้ลูกผสมมีลักษณะสีชมพู แสดงว่าลักษณะดอกสีแดงและสีขาวต่างก็ข่มกันไม่ลง เมื่อนำดอกสีชมพูผสมมาผสมกันเองจะได้ลูกผสมที่มีลักษณะดอกสีแดง 1 ส่วน ดอกสีชมพู  2  ส่วน  ดอกสีขาว 1  ส่วน
       กำหนดให้              R  แทนยีนที่ควบคุม     สีแดง
                                     R´ แทนยีนที่ควบคุม    สีขาว



               อัตราส่วนของ phenotype รุ่น F2 =  ดอกสีแดง  :  ดอกสีชมพู  :  ดอกสีขาว  = 1 :  2  :  1  แสดงว่า R ไม่สามารถข่มการแสดงออกของ R´ ได้อย่างสมบูรณ์ทำให้   R´  มี phenotype ที่แสดงออกมาเป็นลักษณะดอกสีชมพู

การถ่ายทอดลักษณะเด่นร่วมกัน (Co - dominant)

           การถ่ายทอดนี้ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล ยีนทั้งสองที่ควบคุมลักษณะจะไม่ข่มซึ่งกันและกันแต่สามารถแสดงความเด่นได้เท่าๆกันจึงปรากฏลักษณะออกมาร่วมกัน เช่น
1) การถ่ายทอดลักษณะหมู่เลือดระบบ ABO ถูกควบคุมด้วยยีนซึ่งมีอัลลีลเกี่ยวข้อง  3 อัลลีล คือ IA ,   I B, i พบว่าอัลลีล IA และอัลลีล I B ต่างก็แสดงลักษณะเด่นเท่าๆกัน (อัลลีล  IA และอัลลีล I B ต่างก็เป็น    Co – dominant allele  ส่วนอัลลีล  i เป็น recessive allele) 



2) การถ่ายทอดลักษณะหมู่เลือดระบบ  MN มียีนควบคุมอยู่ 1 คู่ โดยมี Co – dominant allele M และ N (LM , LN) 
ควบคุมการสร้าง
 antigen M และ antigen N ที่ผิวของเม็ดเลือดแดงทั้ง LM และ LN แสดงลักษณะเด่นได้เท่าๆ กัน

การถ่ายทอดลักษณะเด่นเกิน

เกิดจากอัลลีลในสภาพ Heterozygous จะแสดงลักษณะที่ปรากฏออกมา (phenotype) เหนือกว่าในสภาพHomozygous เช่น TT (สูง 3 ฟุต ) x tt (สูง 1 ฟุต) ได้ลูกผสม  Tt   (สูง 5 ฟุต)


ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม

ลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ถูกควบคุมโดยยีนเป็นตัวกำหนดและ ถ่ายทอดจาก พ่อแม่ไปยังรุ่นลูกหลาน  ลักษณะต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นที่เราเรียกว่าฟีโนไทป์  ซึ่งฟีโนไทป์บางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับยีนเพียงอย่างเดียว  แต่ยังขึ้นอยู่กับ สิ่งแวดล้อมอีกด้วย  ทำให้ลักษณะต่างๆมีความแตกต่างไปจากเดิม  และอาจทำให้ เกิดความผิดปกติได้
การกลาย  (mutation)  หรือการผ่าเหล่า  คือการเปลี่ยนแปลงที่ยีนทำให้คุณสมบัติ แตกต่างไปจากเดิม  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  หรือการชักนำให้เกิด โดยใช้รังสีหรือสารเคมี  และเกิดขึ้นได้กับทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต  ลักษณะบางลักษณะ ที่เกิดจากการกลาย  อาจช่วยให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น  ใมนบาง สภาพการกลายอาจเป็นส่นหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคได้  เนื่องจากยีนที่เปลี่ยนไป จะสร้าง โปรตีนที่เปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งมีผลทำให้ลักษณะบางอย่างของร่างกายผิดปกติไป  การกลายแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

การกลายของเซลล์ร่างกาย


การกลายของเซลล์ร่างกาย (somatic  mutation)  ไม่สามารถถ่ายทอด ไปยังลูกหลาน  เช่นการเกิดมะเร็งผิวหนังของคนมักเกิดขึ้นกับคนที่มีผิวขาว มากกว่าคนที่มีผิวเข้ม  สาเหตุส่วนใหญ่มาจากผิวหนังถูกแสงแดดจัดสะสม เป็นเวลานาน   รังสีอุลตราไวโอเลตในแสงแดดจะทำลายยีนของเซลล์ผิวหนัง  ทำให้อัตราการสร้างเซลล์ผิวหนัง  ทดแทนบริเวณนั้นเพิ่มขึ้นในลักษณะ ที่ร่างกายควบคุมไม่ได้  จึงเกิดเป็นตุ่มเนื้อที่มีการขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่าเนื้องอก (tumor)  ถ้าการขยายยังดำเนินต่อไป  เนื้องอกนี้จะกลาย เป็นมะเร็งผิวหนัง (skin cancer)  มักจะมีสีเข้มถึงสีดำ  เนื่องจากบริเวณนี้ จะสร้างเม็ดสีที่เรียกว่า เมลานิน (melanin)  เพิ่มเติม  เพื่อป้องกันแสงแดดที่ส่อง ลงมากระทบผิวหนัง นอกจากนี้ ในกระบวนการแบ่งเซลล์ก็อาจทำให้เกิด การกลายได้  เนื่องมาจากการไขว้กันของโครโมโซม  ซึ่งเรียกว่า  การไข้เปลี่ยน (crossing – over)

การกลายของเซลล์สืบพันธุ์


การกลายของเซลล์สืบพันธุ์ (sex  mutation)  สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้  ซึ่งเกิดกับยีนในเซลล์สืบพันธุ์ผิดปกติ  การกลายนอกจากจะเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ แล้ว  มนุษย์ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดกลายของสิ่งมีชีวิตต่างๆ (รวมทั้งตัวของ มนุษย์เอง)  ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม  เช่น  รังสีต่างๆ  (รังสีเอ็กซ์  รังสีแกมมา  รังสีอุลตราไวโอเลต)  สารเคมีบางชนิด (สารเคมีในอาหาร  สารกันบูด  สารกำจัดศัตรูพืช)
การกลายล้วนมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ เช่น  กรณีที่มีผลรุนแรงอาจทำให้ไม่มีบุตร  ตั้งครรภ์แล้วแท้ง  คลอดก่อนกำหนด  มีอวัยวะไม่ครบ  หรือมีอาการผิดปกติมาแต่กำเนิด  แต่ถ้าได้รับผลน้อยก็อาจ ทำให้มีความผิดปกติเล็กน้อย  ซึ่งทางการแพทย์สามารถแก้ไขได้  เช่น  ปากแหว่ง เพดานโหว่  มีนิ้วเกินมา  เป็นต้น อย่างไรก็ตาม  มิใช่ว่าการกลายจะมีผลเสียไปทั้งหมด  บางเรื่องก็มีผลดีต่อมนุษย์ด้วยเช่นกัน  ได้แก่  การเพิ่มความสามารถในการต้านทานโรค  ตัวอย่างเช่น  ผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิต จางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell anaemia)  ที่ฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ด เลือดแดงมีน้อยทำให้ความสามารถในการลำเลียงก๊าซออกซิเจนมีน้อยตามไปด้วย  เพราะเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลายหรือเสียได้ง่าย  ผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง  หรือผู้ที่เป็นพาหะจะมีความต้านทานต่อโรคมาเลเลียสูงมาก  เพราะเชื้อมาลาเลียจะไม่สามารถอยู่ในเซลล์เม็ดแดงที่เสียชีวิตแล้วได้

โรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรม  คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม  เช่น  รูปร่าง  โครงสร้าง  จำนวนโครโมโซม  ความผิดปกติของโครโมโซมแบ่งออกเป็น ประเภทคือ
1.1  ความผิดปกติของโครโมโซมร่างกาย    ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
เกิดจากการขาดหายของโครโมโซม  ตัวอย่างโรคที่เกิดจากการขาดหายของโครโมโซมร่างกายได้แก่  กลุ่มอาการคริดูชาต์ (Cri-du-chat  syndrome)   เกิดจากการที่ส่วนของแขนข้างสั้นของโครโมโซมคู่ที่ ขาดหายไป 1 โครโมโซม  ความผิดปกตินี้จะพบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย  ลักษณะอาการที่พบคือ  ศีรษะเล็กกว่าปกติ ใบหูต่ำ  หน้ากลม  ตาห่างและชี้  คางเล็กจมูกแบน  มีอาการปัญญาอ่อน  มีเสียงร้องแหลมสูงเหมือนแมว  จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  Cat – cry  syndrome
                1.2  เกิดจากการเพิ่มจำนวนโครโมโซม ตัวอย่างของโรคที่เกิดจากการเพิ่มโครโมโซมได้แก่กลุ่มอาการพาโตว์

กลุ่มอาการเอ็ดวาร์ด กล่มอาการดาวน์


2. ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ  โครโมโซมเพศ นั้นผู้หญิง คือ XX และผู้ชาย คือ XY ดังนั้นจะเกิดจากผิดปกติของโครโมโซม X หรือ Y เท่านั้น
อาการผิดปกติบนโครโมโซม X นั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า X-Link ซึ่งมีลักษณะเป็นยีนด้อย ตัวอย่างของโรคได้แก่ ตาบอดสี โรคทาลัสซีเมีย โรคบกพร่องทางเอ็นไซม์ โรคกล้ามเนื้อแขนขาลีบ
มีคำกล่าวหนึ่งกล่าวว่า
"อันชายเป็นโรค X-Link ชายนั้นจักได้รับยีนชั่วมาจากมารดร"
"อันหญิงใดเป็นโรค X-Link บิดรและบุตราจักเป็นโรคนั้นชั่วกัปชั่วกัลป์"

ประโยคข้างต้นนั้นหมายถึง โรค X-Link เป็นโรคที่เกิดบนโครโมโซม X ซึ่งผู้ชายจะมีโครโมโซมเพศคือ XY ถ้าหากผู้ชายคนไหนเป็นโรค X-Link ผู้ชายคนนั้นจะต้องได้รับโครโมโซมที่เป็นโรคมาจากแม่อย่างแน่นอน
และเนื่องจากยีนส์ที่เป็นโรคนั้นเป็นยีนด้อย ดังนั้น ถ้าผู้หญิงคนไหนเป็นโรคแสดงว่า พ่อและลูกชายจะต้องเป็นโรคนั้นตลอดไป

เทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology)  เป็นเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีการหมัก  เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  เทคโนโลยีการสร้างแหล่งวัตถุดิบใหม่  ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาบทบาทและหน้าที่ของยีนในสิ่งมีชีวิตต่างๆ  และสามารถพัฒนาวิธีการควบคุมการแสดงออกของลักษณะทางพันธุกรรมได้สำเร็จ  จึงได้นำความรู้ทางด้านนี้รวมกับเทคนิควิธีอื่นๆ ทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนา ปรับปรุงสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ


ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ 
            จะเห็นได้ว่า  มนุษย์มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพด้านพันธุกรรมมาใช้ ปรับปรุง  ดัดแปลง  หรือให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสิ่งมีชีวิต  ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์  พืช สัตว์หรือแม้กระทั่งมนุษย์  เทคโนโลยีชีวภาพทางด้านพันธุกรรมมีหลายวิธี  และมีการนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ดังนี้

ด้านการเกษตร 
            ช่วยเพิ่มผลผลิต  เช่น  การสร้างสายพันธุ์ข้าว  พันธุ์วัวนม  หรือวัวเนื้อที่ให้ผลผลิตสูงเพิ่มคุณภาพของผู้ผลิต  เช่น  การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ตรงตามความต้องการของตลาด  เช่น สี ขนาด  หรือรูปร่างเป็นต้น

           เมื่อ  พ.ศ.  2545  ศาสตราจารย์  อากิรา อิริตานิ  หัวหน้าทีมวิจัย เรื่องพันธุวิศวกรรม  แห่งมหาวิทยาลัยกินกิ  ทางภาคตะวันตกของญี่ปุ่น  ประสบความสำเร็จในการนำยีนจากผักโขมใส่เข้าไปในยีนของสุกร  โดยการฉีดยีนของผักโขมลงไปในไข่ของสุกรที่ผสมพันธุ์แล้วในหลอดแก้ว  จากนั้นนำไปเก็บในตู้อบ  แล้วฉีดใส่กลับเข้าไปในสุกร  เมื่อลูกสุกรคลอดออกมา  ปรากฏว่ามีสุขภาพแข็งแรงดี  และที่สำคัญคือ  สุกรลูกผสมตัวนี้ เมื่อนำไปวัดไขมัน พบว่ามีปริมาณลดลง20 % นักวิจัยเชื่อว่าสุกรอนามัยตัวนี้  จะมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าสุกรทั่วไป  เพราะมียีนของผักโขม  ซึ่งเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายผสมอยู่  อย่างไรก็ตามการวิจัยดังกล่าว  ยังอยู่ในขั้นทดลองระดับหนึ่งเท่านั้น  เนื่องจากอัรตราการรอดชีวิตของสุกร ที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรมมีน้อยเพียง 1 % เท่านั้น

ด้านการแพทย์
         ทำให้สามารถผลิตยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นทำให้สามารถผลิตวัคซีนต่างๆ  จากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นได้เพิ่มขึ้น ผลิตสารแอนติบอดี  เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์  เช่น  สารโมโนโคลนอล (monoclonol antibodies)  เพื่อใช้การตรวจการตั้งครรภ์ผลิตสารอินเตอร์เฟรอน (interferon)  จากแบคทีเรียเพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง

ด้านสิ่งแวดล้อม
         ปรับปรุงสายพันธุ์แบคทีเรียให้สามารถกำจัดคราบน้ำมันในแหล่งน้ำได้สามารถผลิตแก๊สมีเทนจากขยะและสิ่งที่เหลือจากการเกษตร  ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดขยะอีกทางหนึ่งด้วย

ด้านอาหาร
          ปรับปรุงพันธุ์พืชที่สามารถให้ผลผลิตสูง  และทนต่อสภาพที่แห้งแล้งได้ใช้จุลินทรีย์หรือโปรตีนเซลล์เดียวผสมในอาหาร  เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้สุงขึ้น  เช่น  จุลินทรีย์พวกยีสต์  สาหร่าย  เป็นต้น  การผลิตอาหารเสริมจากสาหร่าย  รา  ที่มีคุณค่าททางโภชนาการสูง  เช่น  โปรตีนจากรา Fusarium  sp.  ซึ่งมีโปรตีน  45  %  ไขมัน  13 %
ปรับปรุงพันธุ์สัตว์  โดยใช้แบคทีเรียช่วยในการผลิตฮอร์โมนของสัตว์ให้มีปริมาณมากขึ้นและนำไปฉีดให้แก่สัตว์  เพื่อเร่งการเจริญเติบโต

ด้านพลังงาน
         สามารถผลิตพลังงานในรูปของแอลกอฮอล์เชื้อเพลิง(fuel  alcohol) และแก๊สมีเทน (methane  gas)ได้ในปริมาณมาก