กฎของเมนเดล
การค้นพบของเมนเดล
เมื่อปี พ.ศ. 2408 เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล (Gregor
Johan Mendel) บาทหลวงชาวออสเตรีย ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพันธุศาสตร์ ได้อธิบาย
ลักษณะบางอย่างของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏในรุ่นลูก อันเป็นผลมาจากการถ่ายทอด
ลักษณะดังกล่าวจากพ่อแม่ ผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์
เมนเดลทำการทดลองศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โดยการผสมพันธุ์
ถั่วลันเตาที่มีประวัติว่าต้นสูงทุกรุ่นกับต้นเตี้ยเคระ ผลปรากฏว่ารุ่นลูกหรือรุ่น F1 (first filial generation) จะเป็นต้นสูงทั้งหมดและเมื่อเมนเดลนำเอา เมล็ดที่เกิด จากการผสมพันธุ์ภายในดอกเดียวกันของรุ่น F1 ไปเพาะเมล็ด ซึ่งเป็นรุ่นหลาน หรือรุ่น F2 (second filial generation) เจริญเติบโตเป็นต้นสูงมากกว่า ต้นเตี้ยแคระในอัตราส่วน 3 : 1 เมนเดลได้อธิบายผลการทดลองที่เกิดขึ้นว่า ลักษณะต้นสูงที่ปรากฏนทุกรุ่น เรียกว่า ลักษณะเด่น (dominant) ส่วนลักษณะต้นเตี้ยแคระที่มีโอกาสปรากฏในบางรุ่น เรียกว่า ลักษณะด้อย (recessive)
ถั่วลันเตาที่มีประวัติว่าต้นสูงทุกรุ่นกับต้นเตี้ยเคระ ผลปรากฏว่ารุ่นลูกหรือรุ่น F1 (first filial generation) จะเป็นต้นสูงทั้งหมดและเมื่อเมนเดลนำเอา เมล็ดที่เกิด จากการผสมพันธุ์ภายในดอกเดียวกันของรุ่น F1 ไปเพาะเมล็ด ซึ่งเป็นรุ่นหลาน หรือรุ่น F2 (second filial generation) เจริญเติบโตเป็นต้นสูงมากกว่า ต้นเตี้ยแคระในอัตราส่วน 3 : 1 เมนเดลได้อธิบายผลการทดลองที่เกิดขึ้นว่า ลักษณะต้นสูงที่ปรากฏนทุกรุ่น เรียกว่า ลักษณะเด่น (dominant) ส่วนลักษณะต้นเตี้ยแคระที่มีโอกาสปรากฏในบางรุ่น เรียกว่า ลักษณะด้อย (recessive)
กฏของเมนเดล กล่าวไว้ 2 ข้อ คือ
1. กฏแห่งการแยกตัว
มีใจความว่า “ ยีนแต่ละคู่ที่ควบคุมแต่ละลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต จะแยกตัวจากกันเป็นอิสระไปสู่เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์
”
2.กฏแห่งการรวมกลุ่มกันอย่างอิสระ
มีใจความว่า “ ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ จะมีการรวมกลุ่มของ หน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม (ยีนเดียวของทุกยีน)
ซึ่งการรวม กลุ่มนี้เกิดขึ้นอย่างอิสระ ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น